วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2551

รายงานระบบคอมพิวเตอร์

ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System )
คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องจักรทางอิเลคทรอนิคส์อย่างหนึ่งที่มนุษย์สร้างเพื่อช่วยในการทำงาน ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้องค์ประกอบต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถจัดการกับข้อมูลต่างๆ โดยใช้เวลาเพียงเล็กน้อยก็ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียม และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จำเป็นต้องมีองค์ประกอบต่างๆ มาผสานการทำงานเข้าด้วยกัน เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำงานได้ ถ้าไม่มีชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของเครื่อง และข้อมูลที่จะป้อนให้เครื่องทำการประมวลผล ดังนั้นองค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป จึงประกอบด้วยไปด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่งควบคุม ข้อมูล และ ผู้ควบคุมเครื่อง
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ในงานประมวลผล
เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบดังนี้
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ (Hardware )
2. ชุดคำสั่งในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ( Software )
3. ผู้ควบคุมเครื่อง ( Peopleware )
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ (Hardware )
หมายถึงโครงสร้างของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ เช่น คีย์บอร์ด เม้าส์ จอคอมพิวเตอร์ และตัวเครื่อง นอกจากนี้ยังประกอบ ด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่ช่วยเสริมให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้กว้าง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องดิจิไตส์เซอร์ ชุดมัลติมีเดีย อุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ ดังนั้น ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งตามหน้าที่การทำงานของเครื่องได้ ดังนี้
1.1 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
ทำหน้าที่ในการเตรียมข้อมูลเข้าสู่ระบบประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยเครื่องมือในการนำเข้าข้อมูลดังนี้คือ คีย์บอร์ด เมาส์ และสื่อนำเข้าข้อมูลดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ CD -RW, Diskette Cartridge Tape , Scanner , Digitizer , Light Pen
1.2 หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit )
เป็นศูนย์รวมที่ทำหน้าที่ในการประมวลผล ประกอบด้วย
1.2.1 หน่วยประมวลผล ( Processor )
เป็นชิปเซตที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลภายใน ซึ่งประกอบด้วย ส่วนควบคุม ( Control Unit : CU ) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ ของระบบโดยส่งสัญญาณควบคุมผ่านระบบบัส ( Bus ) ส่วนคำนวณและเปรียบเทียบ ( Arithmatic and Logic Unit : ALU ) มีหน้าที่หลักคือ การคำนวณและและเปรียบเทียบข้อมูลด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ และ ตรรกศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร และการตรวจสอบเงื่อนไข เก็บข้อมูลที่ได้จากการประมวลไว้ในส่วนที่เรียกว่า( Register ) ปกติแล้วคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลเพียงชุดเดียว ่ในกรณีของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียมซึ่งมีความละเอียดของข้อมูลสูง มีการประมวลผลตลอดเวลา และมีการทำงานของโปรแกรมพร้อมกันหลายโปรแกรม หน่วยประมวลผลเพียงชุดเดียวจึงอาจไม่เพียงพอ เพราะจะทำให้เครื่องประมวลผลหยุดการทำงานในขณะที่มีการประมวลผลหนักๆ การเลือกใช้คอมพิวเตอร์แบบมีหน่วยประมวลผล 2 ชุด ( two-processor ) เป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้การประมวลผลมีเสถียรภาพ โดยหน่วยประมวลผลสามารถทำงานในเวลาเดียวกันเป็นตัวสำรองซึ่งกันและกันเมื่อ CPU ตัวใดตัวหนึ่งหยุดทำงานอีกตัวหนึ่งจะทำงานแทนโดยอัตโนมัติ
1.2.2 หน่วยความจำหลัก ( Main Memory )
เราสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้โดยอัตโนมัติโดยอาศัยชุดคำสั่งที่ป้อนสู่ระบบคอมพิวเตอร์จะเก็บคำสั่งเหล่านั้นไว้ในหน่วยความจำหลักเพื่อทำงานตามชุดคำสั่งหน่วยความจำหลักประกอบด้วย หน่วยความจำแบบอ่านได้อย่างเดียว ( Read Only Memory : ROM ) ทำหน้าที่ในการเก็บชุดคำสั่งควบคุมการรับส่งข้อมูลพื้นฐาน คือ BIOS ซึ่งจะถูกกำหนดมาจากโรงงานผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำส่วนนี้จะเก็บข้อมูลไว้ตลอดอายุการใช้งานของเครื่อง อีกประเภทหนึ่งเรียกว่า หน่วยความจำแบบชั่วคราว ( Random Access Memory : RAM )หน่วยความจำส่วนนี้สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ตลอดเวลา เป็นส่วนที่ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลเพื่อส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผล หลังจากคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลแล้วจะส่งข้อมูลกลับมาที่หน่วยความจำ ทำให้หน่วยความจำมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนย้ายข้อมูลเป็นจำนวนมาก เปรียบเสมือนหน่วยรับฝากข้อมูลแบบชั่วคราว ซึ่งจะถูกแทนที่ด้วยข้อมูลใหม่เสมอ ถ้าปิดเครื่องข้อมูลในหน่วยความจำส่วนนี้จะหายไปหมด คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลดาวเทียม ในปัจจุบันควรจะเลือกใช้ RAM ชนิด ที่มี Parity SDRAM PC100 โดยมี RAM ไม่ต่ำกว่า 128 MB เนื่องจากข้อมูลดาวเทียมมีความละเอียดและความซับซ้อนในการประมวลผลหลายขั้นตอน กอปรกับโปรแกรมประมวลผลข้อมูลดาวเทียมมีขนาดใหญ่ และมีการต่อพ่วงอุปกรณ์อื่นๆ เช่นเทปอ่านข้อมูล สำหรับอ่านข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในหน่วยความจำ จึงทำให้ความต้องการหน่วยความจำหลักมีมากขึ้นและการประมวลผลแต่ละครั้งจะมีการใช้หน่วยความจำจะเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัว
1.2.3 หน่วยบันทึกข้อมูล ( Data Entry Unit ) เป็นสื่อในการเก็บข้อมูล และสามารถนำข้อมูลกลับประมวลผลใหม่ และบันทึกข้อมูลซ้ำได้หลายครั้ง ข้อมูลที่ถูกประมวลผลแล้วเก็บอยู่ในหน่วยความจำหลัก ถ้าปิดเครื่องข้อมูลเหล่านั้นจะหายไป จึงควรมีการบันทึกข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์ส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นทั้งหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผลข้อมูล ( Input / Output Device ) อุปกรณ์ที่จำเป็นในระบบงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้แก่




1. ฮาร์ดดิส (Hard Disk )
แผ่นจานแม่เหล็กเก็บข้อมูลชนิดแข็ง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่เชื่อมต่อภายในเครื่อง (Internal Hard Disk) และประเภทที่เชื่อมต่อภายนอก (External hard disk) ปัจจุบันได้มีการผลิตฮาร์ดดิสความจุตั้งแต่ 6 GB ขึ้นไป โดยมีมาตรฐานการเชื่อมต่อ IDE SCSI และ USB ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลตามมาตรฐานแบบ SCSI จะมีประสิทธิภาพและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล การส่งผ่านข้อมูลได้ดีกว่า จึงเป็นที่นิยมใ ช้ในงานประมวลผลข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลจำนวนมาก ฮาร์ดดิสที่ผลิตในปัจจุบันได้แก่ Seagate, IBM, Maxtor, Quatum






2. เทปคาร์ทริดจ ์ (Cartridge Tape)
เทปคาร์ทริดจ์ มีจุดเด่นตรงสามารถบันทึกข้อมูลซ้ำได้หลายครั้ง และมีความจุสูงถึงระดับกิกะไบต์ คือ ตั้งแต่ 1 กิกะไบต์ขึ้นไป สูงถึง 14 กิกะไบต์ มีลักษณะเทปคล้ายเทปคาสเซ็ท เป็นม้วนยาว 112 m ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลที่มีจำนวนมาก เช่น การสำรองข้อมูลขององค์กรขนาดใหญ่ ใช้เป็นสื่อกลางในการบันทึกข้อมูลดาวเทียม




3. เครื่องอ่านและบันทึกข้อมูล ประเภท CD, DVD
ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านและเขียนข้อมูลมีทั้งชนิดอ่านได้อย่างเดียว ซึ่งเรียกว่า Compact Disk Read Only Memory (CD-ROM) Digital Video disc/Digital Versatile Disc (DVD) และชนิดที่สามารถอ่านและอ่านและเขียนได้ เรียกว่า CD - R, DVD-Rปกติแล้วการบันทึกข้อมูลลงซีดีจะบันทึกได้เพียงครั้งเดียว แต่มีเครื่องบันทึกซีดีที่ออกมารองรับการบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ครั้ง เรียกว่า CD - RW, DVD-RW สามารถลบข้อมูลในแผ่นและบันทึกใหม่ได้



4. Floppy Disk
แผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน เคลือบด้วยสาร Polyester เป็น Mylar บางๆ บรรจุในซองพลาสติก มีขนาด 3.5 นิ้ว ความจุ 1.44MB




5. Removable Disk อื่นๆ
มีลักษณะคล้ายดิสเก็ต แต่มีความจุสูงใกล้เคียงกับฮาร์ดดิส สามารถติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอกเครื่อง เช่นแผ่นบันทึกข้อมูล Handy drive/Time drive, Zip drive , Jaz drive, Syquest ปัจจุบันสามารถบันทึกข้อมูลได้สูงถึง กิกะไบต์
1.2.4 หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)
ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล เป็นส่วนที่เชื่อมความสัมพันธ์และโต้ตอบระว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ หน่วยแสดงผลที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ จอคอมพิวเตอร์ ให้ความละเอียดของการแสดงผลได้ดีกว่าการแสดงผลออกทางสิ่งพิมพ์ แต่เราไม่สามารถจับต้องได้เราเรียกว่า Softcopy ส่วนการแสดงผลออกทางสื่อสิ่งพิมพ์ เรียกว่า Hardcopy เช่น แผนที่ แผนภูมิต่างๆ จัดพิมพ์ในรูปกระดาษ หรือแผ่นฟิล์ม
1. จอคอมพิวเตอร์






จอคอมพิวเตอร์สำหรับงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียมควรใช้จอขนาดใหญ่ 20 นิ้วขึ้นไป หรือไม่ควรต่ำกว่า 17 นิ้ว มีหลอดภาพชนิด Trinitron ซึ่งให้ความคมชัดของภาพได้ดี และความละเอียดในการแสดงผล 1600x1200 จุด ทำให้สามารถแสดงผลภาพได้ดี





2. เครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์ที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูลดาวเทียมมีด้วยกันหลายประเภท แต่ที่นิยมใช้กัน คือ เครื่องพิมพ์ชนิด Laser เครื่องพิมพ์ชนิด Ink Jet ซึ่งให้ความละเอียดในการพิมพ์สูงกว่า และพิมพ์ได้รวดเร็วกว่าเครื่องพิมพ์ชนิด Dot matrix


- เครื่องพิมพ์ชนิดพ่นหมึก (Ink Jet )
ใช้วิธีการพ่นหมึกเหลวในการพิมพ์ให้ความละเอียดเป็นจุดภาพต่อนิ้ว (dpi) สามารถพิมพ์ได้หลายสีใช้หมึกเป็นกลักสี 4 สี (สีแดง-สีดำ-สีนำเงิน-สีเหลือง) สามารถพิมพ์ได้ขนาด A4-A0

- เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser)
ลักษณะการทำงานคล้ายเครื่องถ่ายเอกสาร มีความเร็วและรายละเอียดการพิมพ์สูงมาก สามารถพิมพ์ข้อมูลที่เป็นขาว-ดำ และพิมพ์สี



1.3 อุปกรณ์ต่อพ่วง ( Peripheral )
คืออุปกรณ์เสริมที่ทำให้คอมพิวเตอร์เกิดประโยชน์มากมายประกอบด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร เช่น HUB Network card และสายเคเบิล เป็นอุปกรณ์เสริมทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายเดียวกันได้ สามารถส่งผ่านข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ Server ไปยังคอมพิวเตอร์อื่นๆในระบบได้ ทำให้ระบบงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถถ่ายเทข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์สื่อบันทึกข้อมูลอื่นๆ เป็นตัวกลางในการถ่ายเทข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังเครื่องหนึ่ง ตัวอย่างของอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ใช้ในการนำเข้าข้อมูลมี ดังนี้
1. เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner)
ใช้ในการนำเข้าข้อมูลรูปภาพและข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือ สำหรับในงานระบบสารสนเทศใช้ในการนำเข้าข้อมูลที่เป็น Raster และทำการแปลงข้อมูลโดยใช้โปรแกรมเฉพาะทางให้เป็นข้อมูล Vector หรือใช้วิธีการดิจิไตส์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติของเครื่องสแกนเนอร์ คือสามารถสแกนได้ที่ภาพสีและขาวดำ มีความละเอียดในการสแกนไม่น้อยกว่า 1200 dpi เครื่องสแกนเนอร์มีทั้งขนาดเล็ก A4 ใช้ในงานสำนักงานทั่วไป ขนาดใหญ่ A0 หรือ A1 ใช้การสแกนข้อมูลภาพขาดใหญ่ เช่น การสแกนแผนที่
2. เครื่องดิจิไตส์ (Digitizer)

เป็นเครื่องมือนำเข้าข้อมูลโดยการคัดลอกบนกระดานแม่เหล็ก แล้วแปลงเป็นข้อมูลดิจิตอล (Digital) นำเข้าระบบคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมเฉพาะทาง เช่นโปรแกรมด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ โปรแกรมด้านการออกแบบ AutoCAD , MicroStation ข้อมูลที่นำเข้าโดยใช้โปรแกรมระบบสารสนภูมิศาสตร์ ได้แก่ ถนน ทางน้ำ ที่ตั้งสถานที่สำคัญ ฯลฯ ซึ่งสามารถกำหนดตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์อ้างอิงบนพื้นผิวโลกได้

3) เครื่องอ่าน-บันทึกเทปคาร์ทริดจ ์ (Read-Write Cartridge Tape)

เป็นเครื่องมือนำเข้าข้อมูลโดยใช้อ่านข้อมูลจากเทปคาร์ทริดจ์เข้าระบบคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมเฉพาะทาง เช่น โปรแกรมด้านรีโมทเซนซิ่งนำเข้าข้อมูลดาวเทียม โปรแกรมอ่าน-บันทึกเทปใน Windows NT 4.0 เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกข้อมูลลงในเทปคาร์ทริดได้อีกด้วย


2. ชุดคำสั่งในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
( Software )
เครื่องคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำงานได้ ต้องมีชุดคำสั่งในการควบคุมการทำงาน ตั้งแต่การเริ่มเปิดสวิตซ์เครื่องจนกระทั่งการปิดระบบเครื่อง มนุษย์เราใช้ชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นเป็นตัวแทนในการสั่งงานให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมีมากมายและการใช้งานแตกต่างกันไป ชุดคำสั่งแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งานได้ ดังนี้
2.1 โปรแกรมระบบ ( System Software ) หรือ ระบบปฏิบัติการ ( Operating - Software )
เป็นตัวควบคุมตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การเปิดถึงการการปิดระบบเครื่อง การสื่อสารระหว่างชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างของคอมพิวเตอร์ การส่งข้อมูลทางเครื่องพิมพ์ หรือทางจอภาพ การจัดระบบไฟล์ข้อมูล ระบบปฏิบัติการพื้นฐาน ได้แก่ BIOS ระบบปฏิบัติการ DOS ระบบปฏิบัติการ WINDOWS95 WINDOWS98 , WINDOWS NT , WINDOWS 2000 ระบบปฏิบัติการ UNIX SOLARIS , LINUX และ OS/2 การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการใดขึ้นอยู่กับความถนัด และลักษณะงานที่ใช้
2.2 โปรแกรมภาษา ( Language Software )
เป็นเครื่องมือเขียนชุดคำสั่งตามหลักภาษาของคอมพิวเตอร์ในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามเงื่อนไขคำสั่งที่ผู้เขียนกำหนดขึ้นให้สามารถสนองตอบความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด โปรแกรมภาษา เดิมทีการเขียนสั่งงานคอมพิวเตอร์จะใช้ภาษาเครื่องเป็นหลัก ต่อมาได้มีการพัฒนาภาษาให้ง่ายขั้น คล้ายๆ ภาษาที่มนุษย์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาโปรแกรมได้เอง เช่นโปรแกรมภาษาเบสิค ซี ปาสคาล โคบอล และโปรแกรมภาษารุ่นใหม่ ๆ เช่น โปรแกรมภาษาจาวา ซีจีไอ
2.3 โปรแกรมประยุกต์ ( Application Software ) ได้แก่ โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในงานด้านต่างๆ ตามระบบงานและความต้องการของผู้ใช้ เช่น ชุดโปรแกรมไมโครซอฟออฟฟิศ โปรแกรมประมวลผลทางสถิติ โปรแกรมจัดระบบฐานข้อมูล โปรแกรมด้าน กราฟิค และโปรแกรมเกมส์ต่างๆ ตัวอย่างโปรแกรมประมวลผลข้อมูลดาวเทียมและโปรแกรมประมวลผลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ที่ใช้ในประเทศไทย ดังนี้
1. ERDAS
1. ARC/INFO
2. EASI/PACE
2. INTERGRAH
3. INTERGRAPH
3. SPAN
4. EDISI
4. Alas GIS
5. ER MAPPER
5. ArcView GIS
6. ENVI
6. Map Info
7. TNT MIPS
7. Geo Media
2.4 โปรแกรมช่วยในการจัดการระบบ ( Utility Software ) ได้แก่โปรแกรมสำเร็จรูปที่ช่วยในการจัดการดูแลระบบ เช่น การตรวจสอบดูแลการทำงานของฮาร์ดดิสส์ การตรวจสอบการตั้งค่า IRQ และอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ การตรวจสอบและกำจัดไวรัสโปรแกรม Utility เหล่านี้ได้แก่ Norton , Winzip, Scan , Mcafee
3. ผู้ควบคุมเครื่อง ( Peopleware )
การประมวลผลข้อมูลดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้น ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์มีความสำคัญต่อการประมวลผลเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากข้อมูล เงื่อนไข และคำสั่งถูกกำหนดขึ้นโดยบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ และใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานแทน ดังนั้นบุคลากรที่เกี่ยวข้องในระบบคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วย
3.1 ผู้บริหารระบบ ( Administrator ) มีหน้าที่ดูแลระบบฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ การกำหนดนโยบาย วางแผนการควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ ให้เหมาะสมกับระบบงาน การให้สิทธิในการใช้เครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ แก่กลุ่มผู้ใช้แต่ละกลุ่ม เนื่องจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในศูนย์ฯ ประกอบด้วยเจ้าหน้าของศูนย์ฯ นักวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ นักศึกษา เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยของระบบจึงมีการกำหนดสิทธิการใช้เครื่องแก่กลุ่มผู้ใช้ต่างๆ ดังนั้นผู้บริหารระบบจะต้องมีความรู้เรื่องเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบไฟฟ้า ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตลอดจนโปรแกรมระบบงานประมวลผลข้อมูลที่ใช้ เมื่อใดที่ระบบคอมพิวเตอร์มีปัญหาจะต้องรับผิดชอบค้นหาสาเหตุและแก้ไขให้สำเร็จไป
3.2 ผู้มีหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูล ( Application users ) ได้แก่ ผู้ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลดาวเทียม และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มีหน้าที่ตั้งแต่การเตรียมข้อมูล คัดเลือกและแปลข้อมูล การวิเคราะห์แปลภาพ และประมวลผล เพื่อให้การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลดาวเทียมตลอดจนการจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ที่ทำหน้าที่นี้ นอกจากจะมีความรู้ด้านรีโมทเซนซิ่งและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แล้ว ต้องมีความเข้าใจระบบการทำงานของโปรแกรม ประมวลผลข้อมูล และระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี เพราะโปรแกรมประมวลผลอาจมีข้อจำกัดบ้าง หรือไม่สะดวกในการประมวลผลตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ ผู้ใช้สามารถเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมซึ่งโปรแกรมประมวลผลส่วนใหญ่จะมีส่วนที่ให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาโปรแกรมเสริมให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้
3.3 ผู้มีหน้าที่จัดการระบบฐานข้อมูล ( Data Base Management ) ทำหน้าที่ในการสร้างและออกแบบระบบฐานข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ควบคุมการใช้ฐานข้อมูล จัดเก็บตามความต้องการของผู้ใช้ สามารถให้บริการผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้มีหน้าที่จัดการระบบฐานข้อมูลนอกจากมีความรู้ด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แล้ว จะต้องมีความรู้ด้านการออกแบบระบบฐานข้อมูล และโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูลด้วย